วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

" ฝนหลวง "




" ฝนหลวง "
ความเป็นมาของฝนหลวง
โครงการพระราชดำริฝนหลวงเป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของ พสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดารที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไปหรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วง ฤดูฝนจากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี
จาก การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกภาคของ ประเทศ ทำให้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่และปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร โดยเฉพาะเกษตรกรมักจะประสบกับปัญหาความแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำ ทั้งการบริโภค อุปโภค และการเพาะปลูก
ด้วยทรงตระหนักว่า ในช่วงเวลาที่ฝนไม่ตกหรือฝนทิ้งช่วงไปเป็นระยะเวลานานนั้น พื้นที่เพาะปลูกทั่วไปที่ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือไม่มีโครงการชลประทานเข้าไปถึง ย่อมได้รับความเดือดร้อน เพราะขาดแคลนน้ำ ซึ่งได้อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในการ ทำฝนเทียม เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา โดยวิธีการทำให้ฝนตกนอกเหนือจากการตกของฝนตามปกติ จึงได้พระราชทานพระราชดำริแก่นักวิชาการและเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๘ เพื่อค้นคว้าหาเทคนิควิชาการทางวิทยาศาสตร์ในการแปรสภาพไอน้ำในอากาศให้เกิด เมฆ แล้วเร่งให้กลุ่มเมฆมีการรวมตัวกันมากขึ้นจนเกิดเป็นฝนตกในช่วงเวลาและ พื้นที่ที่ต้องการ โดยพระราชทานนามการทำฝนเทียมนี้ว่า "โครงการฝนหลวง"
นับตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๑๒ เป็นต้นมา จากการวิจัยค้นคว้าทดลอง ก็ได้กรรมวิธีที่เหมาะสมในการปฏิบัติการทำฝนหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมเพื่อให้นำไปทดสอบ ทดลองหลายประการ จนสามารถนำไปใช้ได้ดี การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้ ใช้วิธีการโปรยสารเคมีทางเครื่องบินตามสภาวะต่างๆ ขั้นแรกเพื่อรวบรวมไอน้ำในบรรยากาศให้รวมตัวกันเป็นเมฆ จากนั้นจึงสร้างเมฆหรือเลี้ยงให้เจริญเติบโต และขั้นสุดท้ายจึงเป็นการโจมตีกลุ่มเมฆเหล่านั้นให้ตกเป็นฝนในบริเวณพื้นที่ เป้าหมาย ซึ่งกรรมวิธีในการทำฝนตามขั้นตอนด้งกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ไว้ว่า ก่อกวน เลี้ยงให้อ้วน และโจมตี

ขั้นตอนการทำฝนหลวงนี่มีอยู่ ๓ ขั้นตอน
ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน" เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบนเพื่อให้เกิด กระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ)เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวน การกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมายเมื่อเมฆเริ่ม เกิดมีการก่อตัวและเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม(main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน" เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไปเพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไปต้องใช้ เทคโนโลยี และประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่ม ก้อนเมฆ และใน อัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย
ขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี" เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธี ปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมี ความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็น ฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาด ใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้า ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัย ประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของ การทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)


เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง 1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับการ สนับสนุนเป็นประจำวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่ <> เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป <>เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทยุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ <>เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝน และการเคลื่อนที่

ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐาน ในการประเมิน ผลปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย <>เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น 2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น

3. เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผล ระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์ โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1,FM.5เครื่องโทรพิมพ์ เป็นต้น 4. เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ
5. สถานีเรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ ประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น Doppler radar จัดเป็นเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่องมือ ชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์(Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด 20 นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือที่เรียกว่า สถานีเรดาร์ฝนหลวงนี้อยู่ที่ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ออนไลน์เข้าถึง http://www.identity.opm.go.t

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น