วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการห้วยองคต



โครงการห้วยองคต
โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกาญจนบุรี

1. สรุปพระราชดำริ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ในเขตตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ
จังหวัดกาญจนบุรี ตัวอย่างการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ และพัฒนาอาชีพควบคู่ไปกับการพัฒนาและฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้ กลับคืนสู่สภาพ
สมบูรณ์ โดยเน้นในเรื่องการบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้ราษฎรได้มีที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ÃèÇÁกับการ คงอยู่ของธรรมชาติอย่างเกื้อหนุนกัน และไม่มีการทำลายซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศน์ เพื่อให้สภาพพื้นที่ที่เสื่อมโทรม กลับฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ตามเดิม


2. แผนการดำเนินงานสนองพระราชดำริ

โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นการนำพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ราษฎรได้บุกรุกครอบครองอยู่กลับคืนมา
ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 20,625 ไร่ โดยการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ราษฎรดังกล่าว แล้วนำพื้นที่มาจัดแบ่งให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยแบ่งพื้นที่ใน
การดำเนินการ ดังนี้

- การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม โดยการปลูกและฟื้นฟูป่าไม้ให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม เพื่อจะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
- การบริหารทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการแบ่งเขตพื้นที่ให้เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรม ทั้งในด้านการอนุรักษ์และการฟื้นฟูสภาพป่า พื้นที่พัฒนาแหล่งน้ำ การจัดสรรที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน รวมทั้งพื้นที่ส่วนกลางในการสร้างระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ
- การจัดระเบียบชุมชน โดยให้ราษฎรได้เข้าอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ที่ได้ดำเนินการแบ่งแยกไว้แล้ว
- การส่งเสริมพัฒนาอาชีพ เพื่อให้ราษฎรได้มีที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ควบคู่ไปกับการบริหารทรัพยากรได้อย่างเพียงพอ


3. ผลการดำเนินงานสนองพระราชดำริ

- การแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินในพื้นที่โครงการ มีราษฎรจำนวน 5 ครอบครัว ครอบครองพื้นที่ทำกิน รวมจำนวน 909 ไร่ ที่ไม่ยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการจัดที่ดินทำกินของโครงการและครอบครัวดังกล่าวได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ครอบครอง
อยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะได้รับเงินชดเชยแล้ว ก็ไม่ยินยอมออกจากพื้นที่ ดังนั้น สำนักงาน กปร. ร่วมกับกองอำนวยการโครงการ
ห้วยองคตและสภาทนายความจึงได้ร่วมกันเจรจาข้อตกลงกับราษฎรได้ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจคือราษฎรทุกรายยินยอม ที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของโครงการทำให้โครงการสามารถดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

- การพัฒนาแหล่งน้ำ ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ พร้อมระบบส่งน้ำเสร็จสมบูรณ์ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขาพุช้างหมอบ ห้วยหวาย
ห้วยพุช้างหมอบ ห้วยแม่ระวัง และอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยพุตะเคียน คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งระบบในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2543

- งานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา น้ำบาดาล โทรศัพท์ โรงพยาบาลสถานบารมีและโรงเรียนประชามงคล ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์


และใช้ประโยชน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

- การจัดสรรที่ดินให้แก่ราษฎร ได้ดำเนินการจัดแปลงที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรครอบครัวละ 1 ไร่ ไปแล้วจำนวน 758 แปลง จากเป้าหมายที่กำหนด
ไว้ 790 แปลง และได้ดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร ครอบครัวละ 8 ไร่ จำนวน 858 แปลง จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ 900 แปลง
(ข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม 2542)

- งานพัฒนาป่าไม้ มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 4,030 ไร่ ได้ดำเนินการปลูกป่าตามเป้าหมายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการบำรุงรักษาสวนป่าและป้องกันไฟไหม้ป่า

- งานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ

ด้านเกษตร
- การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ , การส่งเสริมการปลูกไม้ผล , การส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสาน



ด้านปศุสัตว์
- การส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่, การเลี้ยงเป็ดเทศ, การเลี้ยงไก่พื้นเมือง, การ เลี้ยงไก่พื้นเมืองลูกผสมไทยเวียดนาม, การสนับสนุนโคพ่อพันธุ์อเมริกัน บราห์มัน, การส่งเสริมการเลี้ยงสุกร, การเลี้ยงปลานิลในสระ, การทดลองการเลี้ยงปลานิลในกระชัง
ด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือน
- การส่งเสริมอาชีพหัตถอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพ ซึ่งได้แก่ การเย็บเสื้อยืด การเย็บกระเป๋า
- การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการฯ ของชุมชน ได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามแนวคิด "บวร" เรื่องแนวทางการสร้างค่านิยมและคุณภาพชุมชน (เมืองงาม - น้ำใจดี) เมื่อเดือนธันวาคม 2541 โดยมีผู้เข้าร่วม คือ พระภิกษุ ข้าราชการ ประชาชน
จำนวน 60 ราย เพื่อจะนำข้อสรุปจากผลการประชุมไปสู่การใช้ประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการ ของประชาชนและ ครบถ้วนตามแนวพระราชดำริ
- นอกจากนั้นได้พยายามส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทุน ร่วมใจ ร่วมได้รับประโยชน์ให้สามารถพึ่งตนเองและ สนับสนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขณะนี้มีการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ จำนวน 10 กลุ่ม เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา กลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ เป็นต้น

4.แนวทางดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป

ในปลายเดือนเมษายน 2542 จะดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตร : การเป็นผู้นำวิทยากร ซึ่งเป็นหลักสูตรต่อเนื่องจากการประชุม เรื่อง แนวทางการสร้างค่านิยมและคุณภาพชุมชน (เมืองงาม - น้ำใจดี) ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างผู้นำให้แก่ชุมชน โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วย พระภิกษุ ประชาชน และข้าราชการ ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้นำตามธรรมชาติมาฝึกอบรมเป็นวิทยากร
- ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อยึดถือปฏิบัติซึ่งจะเสร็จใน
เมษายน 2542 ปรับปรุงการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของราษฎร เพื่อจะนำไปพิจารณาการวางแผนและกำหนดเป้าหมาย กรอบนโยบายให้ชัดเจน

- ดำเนินการรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์จากที่ดินของเกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรจากโครงการเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนา
และพิจารณาหาแนวทางใช้ที่ดินของเกษตรกรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

- ส่งเสริมให้แก่เกษตรกร บุคคลทั่วไปและหน่วยงานต่าง ๆ ได้เข้ามาเยี่ยมชมกิจกรรม การดำเนินงานโครงการ เพื่อจะได้นำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ และการดำเนินงานของตนเองในโอกาสต่อไป

- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ วีดีโอ เอกสาร แผ่นพับ และอื่น ๆ เพื่อเผยแพร่การดำเนินงานโครงการ ให้แก่ เกษตรกร บุคคลที่สนใจ
และหน่วยงานราชการต่าง ๆ

- ปรับปรุงการบริหารการจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพ
ออนไลน์เข้าถึง http://www.rdpb.go.th/thai/important/Projects/pj105.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น