วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดําริ


โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบเชิงเขา ด้านทิศเหนืออยู่ติดกับเขาเขียว และลาดต่ำลงสู่ด้านทิศใต้ จนจรดกับถนนสายหนองกวาง-เขาน้อย มีความลาดชันตั้งแต่ 1-10% มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาด สภาพของป่าและพืชพรรณที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นป่าละเมาะ ไม้ใหญ่ถูกตัด ตอนกลางพื้นที่เคยใช้เลี้ยงสัตว์ ดินเป็นดินตื้นที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายและปนกรวด มีการกัดกร่อน ส่วนพื้นที่ตอนใต้สุดใช้ปลูกพืชไร่ได้บ้าง ซึ่งเป็นดินลึกปานกลาง เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีเนินเขาเล็ก ๆ อยู่ทางทิศตะวันออกหนึ่งลูกและทางทิศใต้หนึ่งลูก นอกนั้นมีบ่อลูกรังขนาดใหญ่อยู่ตอนกลางพื้นที่

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการศึกษาทดลองวิธีการปรับปรุงดินเสื่อมโทรม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงดิน ให้แก่เกษตรกรในบริเวณใกล้เคียง ให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณโครงการให้ได้ประโยชน์สูงสุด พัฒนาแหล่งน้ำ และปลูกไม้ยืนต้น และเป็นแหล่งค้นคว้าศึกษาหาความรู้ของเกษตรกรและบุคคลทั่วไปสำหรับนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมปศุสัตว์ และกรมประมง รับผิดชอบในการดำเนินงาน

ภายในโครง การมีหลายกิจกรรมที่มีการดำเนินการ หนึ่งในนั้นที่ได้เข้ามาเอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างยิ่งก็คือ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ ทั้งนี้โดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยจะมีที่ดินประมาณ 15 ไร่ แบ่งออกตามสัดส่วน คือ 30-30-30-10 ตามทฤษฎีใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวพระราชดำริอันเป็นหลักปฏิบัติ สำคัญยิ่งในการดำเนินการ คือ วิธีการนี้สามารถใช้ปฏิบัติได้กับเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่มีที่ดินจำนวนน้อย แปลงเล็ก ๆ ประมาณ 15 ไร่ มุ่งให้เกษตรกรมีความพอเพียงในการเลี้ยงตัวเองได้ (Self Sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อน โดยมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของความสามัคคีในท้องถิ่น กำหนดจุดมุ่งหมายให้สามารถผลิตข้าวบริโภคได้เพียงพอทั้งปี โดยยึดหลักว่าการทำนา 5 ไร่ ของครอบครัวหนึ่งนั้นจะมีข้าวกินตลอดปี ซึ่งเป็นหลักสำคัญของทฤษฎีใหม่ และที่โดดเด่นมากอีกรายการก็เห็น จะเป็นแปลงทดสอบพันธุ์แฝกที่แนะนำ 10 สายพันธุ์ เนื่องจากพื้นที่โดยส่วนใหญ่ไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกเนื่องจากมีการนำหน้าดินที่มีความสมบูรณ์ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทบหมดสิ้นคงเหลือแต่ดินชั้นล่างที่เรียกกันว่าดินลูกรัง โดยมีการแนะนำสายพันธุ์หญ้าแฝก 10 สายพันธุ์ให้กับพื้นที่แห่งนี้ คือ หญ้าแฝกดอน 6 สายพันธุ์ และหญ้าแฝกลุ่ม 4 สายพันธุ์
ส่วนการวิจัยนี้จะศึกษาว่าหญ้าแฝก 10 สายพันธุ์แนะนำ สามารถเจริญเติบโตได้ในดินลูกรัง และศึกษาเปรียบเทียบมวลชีวภาพของหญ้าแฝกทั้ง 10 สายพันธุ์ มาปลูกในพื้นที่ยังผลให้สภาพดินมีความสมบูรณ์ขึ้นตามธรรมชาติจนสามารถปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ได้ในทุกวันนี้ และล่าสุดคณะเจ้าหน้าที่จากสำนักราชเลขานุการ และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เดินทางเข้าพื้นที่ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานปรากฏว่า มีความก้าวหน้าอย่างน่าพอใจยิ่ง ที่สำคัญในวันนี้ ศูนย์ดังกล่าวได้ก้าวเข้ามาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่นำไปแก้ไขปัญหาที่ดินของตนเอง ซึ่งประสบความสำเร็จหลายรายด้วยกัน นอกจากนี้ยังได้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ในระบบนิเวศวิทยาในรูปแบบธรรมชาติแก้ไขปัญหาให้กับธรรมชาติตามธรรมชาติที่ประสบความสำเร็จอีกด้วย
ออนไลน์เข้าถึง http://www.nationchannel.com/event/2009/ratchaburi_tour/index.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น