วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดําริ


โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบเชิงเขา ด้านทิศเหนืออยู่ติดกับเขาเขียว และลาดต่ำลงสู่ด้านทิศใต้ จนจรดกับถนนสายหนองกวาง-เขาน้อย มีความลาดชันตั้งแต่ 1-10% มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาด สภาพของป่าและพืชพรรณที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นป่าละเมาะ ไม้ใหญ่ถูกตัด ตอนกลางพื้นที่เคยใช้เลี้ยงสัตว์ ดินเป็นดินตื้นที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายและปนกรวด มีการกัดกร่อน ส่วนพื้นที่ตอนใต้สุดใช้ปลูกพืชไร่ได้บ้าง ซึ่งเป็นดินลึกปานกลาง เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีเนินเขาเล็ก ๆ อยู่ทางทิศตะวันออกหนึ่งลูกและทางทิศใต้หนึ่งลูก นอกนั้นมีบ่อลูกรังขนาดใหญ่อยู่ตอนกลางพื้นที่

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการศึกษาทดลองวิธีการปรับปรุงดินเสื่อมโทรม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงดิน ให้แก่เกษตรกรในบริเวณใกล้เคียง ให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณโครงการให้ได้ประโยชน์สูงสุด พัฒนาแหล่งน้ำ และปลูกไม้ยืนต้น และเป็นแหล่งค้นคว้าศึกษาหาความรู้ของเกษตรกรและบุคคลทั่วไปสำหรับนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมปศุสัตว์ และกรมประมง รับผิดชอบในการดำเนินงาน

ภายในโครง การมีหลายกิจกรรมที่มีการดำเนินการ หนึ่งในนั้นที่ได้เข้ามาเอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างยิ่งก็คือ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ ทั้งนี้โดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยจะมีที่ดินประมาณ 15 ไร่ แบ่งออกตามสัดส่วน คือ 30-30-30-10 ตามทฤษฎีใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวพระราชดำริอันเป็นหลักปฏิบัติ สำคัญยิ่งในการดำเนินการ คือ วิธีการนี้สามารถใช้ปฏิบัติได้กับเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่มีที่ดินจำนวนน้อย แปลงเล็ก ๆ ประมาณ 15 ไร่ มุ่งให้เกษตรกรมีความพอเพียงในการเลี้ยงตัวเองได้ (Self Sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อน โดยมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของความสามัคคีในท้องถิ่น กำหนดจุดมุ่งหมายให้สามารถผลิตข้าวบริโภคได้เพียงพอทั้งปี โดยยึดหลักว่าการทำนา 5 ไร่ ของครอบครัวหนึ่งนั้นจะมีข้าวกินตลอดปี ซึ่งเป็นหลักสำคัญของทฤษฎีใหม่ และที่โดดเด่นมากอีกรายการก็เห็น จะเป็นแปลงทดสอบพันธุ์แฝกที่แนะนำ 10 สายพันธุ์ เนื่องจากพื้นที่โดยส่วนใหญ่ไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกเนื่องจากมีการนำหน้าดินที่มีความสมบูรณ์ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทบหมดสิ้นคงเหลือแต่ดินชั้นล่างที่เรียกกันว่าดินลูกรัง โดยมีการแนะนำสายพันธุ์หญ้าแฝก 10 สายพันธุ์ให้กับพื้นที่แห่งนี้ คือ หญ้าแฝกดอน 6 สายพันธุ์ และหญ้าแฝกลุ่ม 4 สายพันธุ์
ส่วนการวิจัยนี้จะศึกษาว่าหญ้าแฝก 10 สายพันธุ์แนะนำ สามารถเจริญเติบโตได้ในดินลูกรัง และศึกษาเปรียบเทียบมวลชีวภาพของหญ้าแฝกทั้ง 10 สายพันธุ์ มาปลูกในพื้นที่ยังผลให้สภาพดินมีความสมบูรณ์ขึ้นตามธรรมชาติจนสามารถปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ได้ในทุกวันนี้ และล่าสุดคณะเจ้าหน้าที่จากสำนักราชเลขานุการ และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เดินทางเข้าพื้นที่ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานปรากฏว่า มีความก้าวหน้าอย่างน่าพอใจยิ่ง ที่สำคัญในวันนี้ ศูนย์ดังกล่าวได้ก้าวเข้ามาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่นำไปแก้ไขปัญหาที่ดินของตนเอง ซึ่งประสบความสำเร็จหลายรายด้วยกัน นอกจากนี้ยังได้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ในระบบนิเวศวิทยาในรูปแบบธรรมชาติแก้ไขปัญหาให้กับธรรมชาติตามธรรมชาติที่ประสบความสำเร็จอีกด้วย
ออนไลน์เข้าถึง http://www.nationchannel.com/event/2009/ratchaburi_tour/index.html

โครงการธนาคารข้าว


โครงการธนาคารข้าว
" ... โครงการที่ได้ปฏิบัติมาจนถึงเดี๋ยวนี้ก็ได้ใช้ข้าวเป็นจำนวนมาก สำหรับส่งไปสงเคราะห์ในบริเวณชายแดน โดยอาศัยการส่งไปให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อที่จะได้แจกจ่ายแก่ผู้ที่ขาดแคลน นอกจากนี้ก็ได้ปฏิบัติอีกวิธีหนึ่ง คือนอกจากจะไปแจกแก่ผู้ที่ขาดแคลนคือ ได้ไปตั้งเป็นคลัง เป็นฉางข้าวในบางแห่ง คือ บางแห่งมีความขาดแคลนข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งปีที่แล้วก็มีความเดือดร้อน เพราะว่ามีการขาดน้ำ ทำให้ข้าวไม่ได้ผลเพียงพอจึงได้ให้ข้าวจำนวนหนึ่งแก่หมู่บ้านและตั้งเป็นฉางข้าว กล่าวคือ ให้ข้าวไว้และก็ถ้าต่อมาเขามีรายได้เพิ่มขึ้นหรือปลูกข้าวได้ก็เอามาคืน โดยมีดอกเบี้ยเพิ่มเติมเข้ามา ข้าวที่ให้ไปจึงเป็นข้าวที่หมุนเวียนและทำให้ประชาชนสามารถที่จะเข้าใจถึงการประหยัดถึงวิธีที่จะร่วมมือกัน มีชีวิตเป็นกลุ่ม ..." (พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะกรรมการสโมสรไลออนส์ดุสิตกรุงเทพ และบริษัทศรีกรุงวัฒนา จำกัด ณ พระตำหนักจิตรลดา 20 มิถุนายน 2511)

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผลผลิตข้าวปีละประมาณ ๑๙ ล้านตัน เป็นประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่รายหนึ่งของโลก นับเป็นประเทศที่มีธัญพืชและทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ยิ่งแห่งหนึ่ง แต่ก็ยังมีผู้คนในชนบทจำนวนมาก ภายหลังจาก ที่ได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของตนไปแล้ว กลับขาดแคลนข้าวที่จะบริโภค หรือใช้ทำพันธุ์ในฤดูเพาะปลูกครั้งต่อไป
การขาดแคลนข้าวของชาวนาในชนบทเป็นความเดือดร้อนอย่างยิ่ง ครัวเรือนที่ยากจนมักแก้ไขปัญหา โดยวิธีกู้ยืมจากพ่อค้าคนกลาง ซึ่งอาจจะกู้ยืมเป็นข้าว หรือเป็นเงิน โดยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก เฉลี่ยแล้วราวร้อยละ ๓๐-๑๒๐ บาทต่อปี ในบางกรณีก็ต้องกู้ยืมโดยวิธีการขายข้าวเขียว ซึ่งเป็นผลให้ผู้กู้เสียเปรียบอย่างมาก ทำให้ผลผลิตข้าวที่ได้ไม่เพียงพอสำหรับการบริโภค และการชำระหนี้ ในที่สุดก็กลายเป็นผู้ที่มีหนี้สินพอกพูน ตกอยู่ในสภาพที่ยากจน ล้าหลัง ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ และเป็นที่มาของปัญหาการพัฒนาด้านอื่น ๆ ต่อไปอีก
การที่ประเทศเรามีธัญพืชมากพอที่จะเลี้ยงดูคนทั้งประเทศ แต่ก็ยังมีผู้ที่ไม่มีข้าวพอกินเป็นสองภาพที่ขัดแย้งกันของชนบทไทย ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นด้วยปัจจัยหลาย

ประการประกอบกัน นับแต่ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและน้ำ ประสิทธิภาพของการผลิต การควบคุมระบบตลาด กลไกราคา และภาวะการค้าต่างประเทศ แม้ว่า รัฐบาลจะกำหนดนโยบายและวางแผนที่จะแก้ไขปัญหาแหล่านี้ด้วยมาตรการต่าง ๆ จำนวนมาก แต่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็เป็นเรื่องระยะยาวที่มองไม่เห็นผลในทันที

แนวพระราชดำริ เกี่ยวกับโครงการธนาคารข้าว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ สู่ภูมิภาคต่าง ๆ ในท้องถิ่นชนบทของประเทศอย่างสม่ำเสมอมานับสิบปี ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงเห็นสภาพความยากจน เดือดร้อนและเข้าพระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้งแจ่มชัดถึงสาเหตุแห่งปัญหา พระองค์ทรงริเริ่มและพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาในระดับต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้ประชาชนพึ่งตนเอง ให้พึ่งพาอาศัยปัจจัยภายนอกให้น้อยที่สุด ในบางเรื่องทรงเห็นว่าการจัดสรรทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ๆ จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาวและในบางกรณีก็ทรงเห็นว่า จำเป็นต้องมีมาตรการแก้ไขความเดือนร้อนเฉพาะหน้าของราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องข้าว ทรงพยายามทำทุกวิถีทางในเกษตรกรมีข้าวพอกินอาจกล่าวได้ว่า "ธนาคารข้าว" เป็นผลมาจากพระปรีชาดังกล่าว เป็นความพยายามด้านหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และเป็นพะราชประสงค์โดยตรงที่จะให้ทางราชการไปช่วยเหลือในการจัดตั้งธนาคารข้าว เพื่อประโยชน์แก่เกษตรกรที่ยากจนโดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการก่อรูป "ธนาคารข้าว" ขึ้น และทำให้ธนาคารข้าว

กลายเป็นแนวคิดที่แพร่หลาย เป็นนโยบายของรัฐและเป็นแผนงานสำคัญแผนหนึ่งของการพัฒนาชนบทยากจนที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคารข้าว ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เมื่อครั้งทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรชาวเขาเผากะเหรี่ยง ในเขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้พระราชทานข้าวเปลือกจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ใหญ่บ้านหลายหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นทุนเริ่มดำเนินกิจการธนาคารข้าว ได้พระราชทานแนวทางดำเนินงานไว้อย่างละเอียดชัดเจน ดังบันทึกดังต่อไปนี้
"ให้มีคณะกรรมการควบคุม ที่คัดเลือกจากราษฎรในหมู่บ้าน เป็นผู้เก็บรักษาพิจารณาจำนวนข้าวที่จะให้ยืมและรับข้าวคืน ตลอดจนจัดทำบัญชีทำการของธนาคารข้าว ราษฎรที่ต้องการข้าวไปใช้บริโภคในยามจำเป็น ให้ลงบัญชียืมข้าวไปใช้จำนวนหนึ่ง เมื่อสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้แล้ว ก็นำมาคืนธนาคาร พร้อมด้วยดอกเบี้ยจำนวนเล็กน้อยตามแต่ตกลงกัน ซึ่งข้าวที่เป็นดอกเบี้ยดังกล่าวก็จะเก็บรวมไว้ในธนาคาร และถือเป็นสมบัติของส่วนรวม สำหรับกรรมการควบคุมข้าวนั้น มีสิทธิในการขอยืมข้าวเท่ากับราษฎรทุกประการ ต้องอธิบายให้กรรมการและราษฎรเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ถึงหลักการของธนาคารข้าว โดยพยายามชี้แจงอย่างง่าย ๆ แต่ต้องให้แน่ใจว่า ทุกคนเข้าใจดี กรรมการและราษฎรก็ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อหลักการ เมื่อยืมข้าวจากธนาคารข้าว ซึ่งเป็นของส่วนรวมไปใช้ และถึงกำหนดเวลาที่สัญญาไว้ ก็ต้องนำข้าวมาคืนพร้อมด้วยดอกเบี้ย นอกจากว่ามีเหตุสุดวิสัย ซึ่งต้องชี้แจ้งให้กรรมการพิจารณาข้อเท็จจริง ราษฎรต้องร่วมมือกันสร้างยุ้งที่แข็งแรง ทั้งนี้หากปฏิบัติตามหลักการที่วางไว้ จำนวนข้าวที่หมุนเวียนในธนาคารจะไม่มีวันหมด แต่จะค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้น และจะมีข้าวสำหรับบริโภคตลอดไปจนถึงลูกหลาน ในที่สุดธนาคารข้าวก็จะเป็นแหล่งที่รักษา ผลประโยชน์ของราษฎรในหมู่บ้าน และเป็นแหล่งอาหารสำรองของหมู่บ้านด้วย"


สรุป
รัฐบาลโดยหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับสนองพระบรมราโชบาย ขยายขอบเขตการดำเนินงานธนาคารข้าวออกไปอย่างกว้างขวาง จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๘ มีธนาคารข้าวที่จัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ มากกว่า ๔,๓๐๐ แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ ๕๗ จังหวัด จำนวนข้าวหมุนเวียนในธนาคารข้าวมากกว่า ๑๔.๕ ล้านกิโลกรัม หลักการดำเนินงานของธนาคารข้าว ปัจจุบันสามารถปรับใช้ได้กับสภาพปัญหาและความจำเป็นที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ เช่น ลักษณะการให้บริการ ซึ่งมีทั้งให้เปล่า ให้โดยแลกแรงงาน ให้ยืมหรือให้กู้สำหรับทุนดำเนินงานนั้น อาจหาทุนได้หลายวิธี เช่น การรับบริจาค การเรียกหุ้น ฯลฯ และในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งกองทุน


ธนาคารข้าว เป็นโครงการในเชิงการให้สวัสดิการสังคม สิ่งที่เกิดขึ้นเท่ากับเป็นการโอนรายได้ (Transfer income) จากคนรวยไปยังคนจนและเป็นการกระจายรายได้ที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ ราษฎรมีแหล่งข้าวกลางของหมู่บ้านที่สามารถกู้ยืมไปบริโภคหรือทำพันธุ์ โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าอัตราซึ่งต้องเสียให้แก่พ่อค้าคนกลางเป็นอันมาก ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการอดอยากขาดแคลน ช่วยยกระดับฐานะความเป็นอยู่ และระดับรายได้ของเกษตรกรที่ยากจน เป็นการแก้ปัญหาที่ได้ผลและตรงจุดประการหนึ่ง
สิ่งที่ได้มานอกจากนั้น เป็นเรื่องที่มองไม่เห็นผลโดยตรง แต่เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสร้างพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาสร้างความสมัครสมานสามัคคีของชุมชนในการ ที่จะเรียนรู้และดำเนินการแก้ไขปัญหาของตนซึ่งเป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงย้ำอยู่เสมอ ในเรื่องความเข้าใจของราษฎร ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และความรู้สึกมีส่วนร่วม พระองค์ทรงเห็นว่า สิ่งเหล่านี้ปลูกฝังได้ ธนาคารข้าวอาจทำหน้าที่เป็นโรงเรียนที่ดี ในขณะเดียวกัน ก็เป็นตัวชี้ถึงประสิทธิภาพ และความเข้มแข็งของชุมชน นั้น ๆ ธนาคารข้าวที่ประสบความสำเร็จมิได้บรรลุเพียงจุดมุ่งหมายพื้นฐานในการบรรเทาการขาดแคลนข้าวเท่านั้น แต่ยังได้สร้างกิจกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ สร้างการมีส่วนร่วมภาวะผู้นำ และความร่วมมือในระดับชุมชนอีกด้วย
กิจกรรมธนาคารข้าวในท้องที่หลายแห่งเป็นที่มาของความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ของชาวบ้านที่ร่วมใจกันหาวิธีการนำข้าวมาเข้ากองทุน และในอีกหลายท้องที่ ผลประโยชน์ที่เพิ่มพูนขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมธนาคารข้าว ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันใน จุดเล็ก ๆ ที่พร้อมจะเติบโตต่อไป

โครงการห้วยองคต



โครงการห้วยองคต
โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกาญจนบุรี

1. สรุปพระราชดำริ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ในเขตตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ
จังหวัดกาญจนบุรี ตัวอย่างการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ และพัฒนาอาชีพควบคู่ไปกับการพัฒนาและฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้ กลับคืนสู่สภาพ
สมบูรณ์ โดยเน้นในเรื่องการบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้ราษฎรได้มีที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ÃèÇÁกับการ คงอยู่ของธรรมชาติอย่างเกื้อหนุนกัน และไม่มีการทำลายซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศน์ เพื่อให้สภาพพื้นที่ที่เสื่อมโทรม กลับฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ตามเดิม


2. แผนการดำเนินงานสนองพระราชดำริ

โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นการนำพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ราษฎรได้บุกรุกครอบครองอยู่กลับคืนมา
ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 20,625 ไร่ โดยการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ราษฎรดังกล่าว แล้วนำพื้นที่มาจัดแบ่งให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยแบ่งพื้นที่ใน
การดำเนินการ ดังนี้

- การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม โดยการปลูกและฟื้นฟูป่าไม้ให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม เพื่อจะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
- การบริหารทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการแบ่งเขตพื้นที่ให้เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรม ทั้งในด้านการอนุรักษ์และการฟื้นฟูสภาพป่า พื้นที่พัฒนาแหล่งน้ำ การจัดสรรที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน รวมทั้งพื้นที่ส่วนกลางในการสร้างระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ
- การจัดระเบียบชุมชน โดยให้ราษฎรได้เข้าอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ที่ได้ดำเนินการแบ่งแยกไว้แล้ว
- การส่งเสริมพัฒนาอาชีพ เพื่อให้ราษฎรได้มีที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ควบคู่ไปกับการบริหารทรัพยากรได้อย่างเพียงพอ


3. ผลการดำเนินงานสนองพระราชดำริ

- การแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินในพื้นที่โครงการ มีราษฎรจำนวน 5 ครอบครัว ครอบครองพื้นที่ทำกิน รวมจำนวน 909 ไร่ ที่ไม่ยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการจัดที่ดินทำกินของโครงการและครอบครัวดังกล่าวได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ครอบครอง
อยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะได้รับเงินชดเชยแล้ว ก็ไม่ยินยอมออกจากพื้นที่ ดังนั้น สำนักงาน กปร. ร่วมกับกองอำนวยการโครงการ
ห้วยองคตและสภาทนายความจึงได้ร่วมกันเจรจาข้อตกลงกับราษฎรได้ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจคือราษฎรทุกรายยินยอม ที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของโครงการทำให้โครงการสามารถดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

- การพัฒนาแหล่งน้ำ ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ พร้อมระบบส่งน้ำเสร็จสมบูรณ์ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขาพุช้างหมอบ ห้วยหวาย
ห้วยพุช้างหมอบ ห้วยแม่ระวัง และอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยพุตะเคียน คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งระบบในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2543

- งานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา น้ำบาดาล โทรศัพท์ โรงพยาบาลสถานบารมีและโรงเรียนประชามงคล ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์


และใช้ประโยชน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

- การจัดสรรที่ดินให้แก่ราษฎร ได้ดำเนินการจัดแปลงที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรครอบครัวละ 1 ไร่ ไปแล้วจำนวน 758 แปลง จากเป้าหมายที่กำหนด
ไว้ 790 แปลง และได้ดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร ครอบครัวละ 8 ไร่ จำนวน 858 แปลง จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ 900 แปลง
(ข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม 2542)

- งานพัฒนาป่าไม้ มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 4,030 ไร่ ได้ดำเนินการปลูกป่าตามเป้าหมายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการบำรุงรักษาสวนป่าและป้องกันไฟไหม้ป่า

- งานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ

ด้านเกษตร
- การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ , การส่งเสริมการปลูกไม้ผล , การส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสาน



ด้านปศุสัตว์
- การส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่, การเลี้ยงเป็ดเทศ, การเลี้ยงไก่พื้นเมือง, การ เลี้ยงไก่พื้นเมืองลูกผสมไทยเวียดนาม, การสนับสนุนโคพ่อพันธุ์อเมริกัน บราห์มัน, การส่งเสริมการเลี้ยงสุกร, การเลี้ยงปลานิลในสระ, การทดลองการเลี้ยงปลานิลในกระชัง
ด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือน
- การส่งเสริมอาชีพหัตถอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพ ซึ่งได้แก่ การเย็บเสื้อยืด การเย็บกระเป๋า
- การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการฯ ของชุมชน ได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามแนวคิด "บวร" เรื่องแนวทางการสร้างค่านิยมและคุณภาพชุมชน (เมืองงาม - น้ำใจดี) เมื่อเดือนธันวาคม 2541 โดยมีผู้เข้าร่วม คือ พระภิกษุ ข้าราชการ ประชาชน
จำนวน 60 ราย เพื่อจะนำข้อสรุปจากผลการประชุมไปสู่การใช้ประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการ ของประชาชนและ ครบถ้วนตามแนวพระราชดำริ
- นอกจากนั้นได้พยายามส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทุน ร่วมใจ ร่วมได้รับประโยชน์ให้สามารถพึ่งตนเองและ สนับสนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขณะนี้มีการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ จำนวน 10 กลุ่ม เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา กลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ เป็นต้น

4.แนวทางดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป

ในปลายเดือนเมษายน 2542 จะดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตร : การเป็นผู้นำวิทยากร ซึ่งเป็นหลักสูตรต่อเนื่องจากการประชุม เรื่อง แนวทางการสร้างค่านิยมและคุณภาพชุมชน (เมืองงาม - น้ำใจดี) ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างผู้นำให้แก่ชุมชน โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วย พระภิกษุ ประชาชน และข้าราชการ ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้นำตามธรรมชาติมาฝึกอบรมเป็นวิทยากร
- ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อยึดถือปฏิบัติซึ่งจะเสร็จใน
เมษายน 2542 ปรับปรุงการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของราษฎร เพื่อจะนำไปพิจารณาการวางแผนและกำหนดเป้าหมาย กรอบนโยบายให้ชัดเจน

- ดำเนินการรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์จากที่ดินของเกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรจากโครงการเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนา
และพิจารณาหาแนวทางใช้ที่ดินของเกษตรกรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

- ส่งเสริมให้แก่เกษตรกร บุคคลทั่วไปและหน่วยงานต่าง ๆ ได้เข้ามาเยี่ยมชมกิจกรรม การดำเนินงานโครงการ เพื่อจะได้นำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ และการดำเนินงานของตนเองในโอกาสต่อไป

- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ วีดีโอ เอกสาร แผ่นพับ และอื่น ๆ เพื่อเผยแพร่การดำเนินงานโครงการ ให้แก่ เกษตรกร บุคคลที่สนใจ
และหน่วยงานราชการต่าง ๆ

- ปรับปรุงการบริหารการจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพ
ออนไลน์เข้าถึง http://www.rdpb.go.th/thai/important/Projects/pj105.htm

โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา



โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญในเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ กังหันน้ำชัยพัฒนา และนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค
กังหันน้ำชัยพัฒนาเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในความเดือดร้อนทุกข์ยากที่เกิดขึ้นนี้ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพน้ำเสียในพื้นที่หลายแห่งหลายครั้ง ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด พร้อมทั้งพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขน้ำเน่าเสียในระยะแรกระหว่างปี พ.ศ. 2527-2530 ทรงแนะนำให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยบรรเทาน้ำเสียและวิธีกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวาและพืชน้ำต่างๆ ซึ่งก็สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ผลในระดับหนึ่ง
กังหันน้ำพระราชทาน
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา สภาพความเน่าเสียของน้ำบริเวณต่างๆ มีอัตราแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้น การใช้วิธีธรรมชาติไม่อาจบรรเทาความเน่าเสียของน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงขอพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตได้เองในประเทศ ซึ่งมีรูปแบบ "ไทยทำไทยใช้"โดยทรงได้แนวทางจาก "หลุก" ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านาอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นจุดคิดค้นเบื้องต้น และทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย การนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อการศึกษาและวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ โดยดำเนินการจัดสร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสียร่วมกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการผลิตเครื่องกลเติมอากาศขึ้นในเวลาต่อมา และรู้จักกันแพร่หลายทั่วไประเทศในปัจจุบันคือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา"
พระราชดำริ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริ เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนในน้ำ มีสาระสำคัญ คือ
การศึกษา วิจัย และพัฒนา
กรมชลประทานรับสนองพระราชดำริในการศึกษาและสร้างต้นแบบ โดยดัดแปลงเครื่องสูบน้ำพลังน้ำจาก "กังหันน้ำสูบน้ำทุ่นลอย" เปลี่ยนเป็น "กังหันน้ำชัยพัฒนา" และได้นำไปติดตั้งใช้ในกิจกรรมบำบัดน้ำเสียที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 และที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นระยะเวลา 4-5 ปี
คุณสมบัติ
กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (Chaipattana Low Speed Surface Aerator) ซึ่งเป็น Model RX-2 หมายถึง Royal Experiment แบบที่ 2 มีคุณสมบัติในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงถึง 1.2 กิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า/ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพน้ำได้อย่างอเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ คลอง บึง ลำห้วย ฯลฯ ที่มีความลึกมากกว่า 1.00 เมตร และมีความกว้างมากกว่า 3.00 เมตร
หลักการทำงาน เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" แบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของน้ำ ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ โครงกังหันรูป 12 เหลี่ยม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00 เมตร มีซองน้ำขนาดบรรจุ 110 ลิตร ติดตั้งโดยรอบจำนวน ซอง เจาะรูซองน้ำพรุน เพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย ซองน้ำนี้จะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบ ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า ระบบแรงดัน 380 โวลต์ 3 เฟส 50 เฮิร์ท ผ่านระบบส่งกำลังด้วยเฟืองเกียร์ทอรอบและ/หรือ จานโซ่ ซึ่งจะทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำวิดตักน้ำด้วยความเร็ว 56รอบ/นาที สามารถวิดน้ำลึกลงไปใต้ผิวน้ำ ประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำขึ้นไปสาดกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำด้วยความสูงประมาณ 1.00 เมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศกว้างขวางมากขึ้น เป็นผลทำให้ออกซิเจนในอากาศละลายเข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว และในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำนั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศจมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย อีกทั้งในขณะที่ซองน้ำกำลังเคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำภายใต้ผิวน้ำจนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้นตามไปด้วย หลังจากนั้นน้ำที่ได้รับการเติมอากาศแล้ว จะเกิดการถ่ายเทของน้ำเคลื่อนที่ออกไปด้วยการผลักดันของซองน้ำด้วยความเร็วของการไหล 0.20 เมตร/วินาที จึงสามารถผลักดันน้ำออกไปจากเครื่อง มีระยะทางประมาณ 10.00 เมตร และผลพลอยได้อีกประการหนึ่งได้แก่ การโยกตัวของทุ่นลอยในขณะทำงาน จะส่งผลให้แผ่นไฮโดรฟอยล์ที่ติดตั้งไว้ในส่วนใต้น้ำ สามารถผลักดันน้ำให้เคลื่อนที่ผสมผสานออกซิเจนเข้ากับน้ำในระดับความลึกใต้ผิวน้ำเป็นอย่างดีอีกด้วย จึงก่อให้เกิดกระบวนการทั้งการเติมอากาศ การกวนแบบผสมผสาน และการทำให้เกิดการไหลของน้ำเสียไปตามทิศทางที่กำหนดโดยพร้อมกัน
สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เป็นที่น่าปีติยินดีเป็นล้นพ้นแก่ปวงพสกนิกรไทยทั้งมวล เมื่อเครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรถวายแด่พระมหากษัตริย์ด้วย จึงนับได้ว่าสิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็น ครั้งแรกของโลก"

รางวัลเทิดพระเกียรติ กังหันน้ำชัยพัฒนามีชื่อเสียงโด่งดังยิ่งขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ในประเภทรางวัลผลงานคิดค้น หรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติประจำปี 2536 และทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยสดุดีถึงพระปรีชาสามารถในการคิดค้นเครื่องกลเติมอากาศชนิดนี้ว่าสามารถบำบัดน้ำเสียได้ดียิ่ง
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น "วันนักประดิษฐ์" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ซึ่งสืบเนื่องจากการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 สำหรับรางวัลเทิดพระเกียรตินานาชาตินั้น The Belgian Chamber of Inventor ซึ่งเป็นองค์กรสิ่งประดิษฐ์ที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรป ได้จัดงาน Brussels Eureka 2000: 49th Anniversary of the World Exhibition of Innovation, Research and New Technology ระหว่างวันที่ 14-20 พฤศจิกายน 2543 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

ในงานนี้ คณะกรรมการนานาชาติและกรรมการประจำชาติ ได้มีพิธีประกาศรางวัลต่อนักวิจัย นักประดิษฐ์ และผู้เข้าชมงานว่า "รางวัลต่างๆ ที่ประกาศในวันนี้ มิใช่ว่าจะพิจารณามอบให้กันอย่างง่ายๆ สิ่งประดิษฐ์ทุกๆ สาขา จะต้องสามารถนำไปใช้งานได้กว้างขวาง เกิดประโยชน์ต่อากรพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ทั่วโลก ดังนั้น Chaipattana Low Speed Surface Aerator, Model Rx-2 เป็นที่น่าสรรเสริญให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นในครั้งนี้"
นอกจากนี้ คณะกรรมการนานาชาติได้กล่าวสดุดีพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า
"พระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นนักพัฒนา มีพระวิริยะอันสูงส่งรวมทั้งพระอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์ที่ดีทรงงานหนักเพื่อประชาชนของพระองค์ ทรงใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่าย สิ่งประดิษฐ์ในพระองค์สามารถนำไปพัฒนาใช้งานได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก"
รางวัล เหรียญรางวัล และประกาศนียบัตร ที่คณะกรรมการนานาชาติและกรรมการประจำชาติทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับการประดิษฐ์ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ดังนี้
ถ้วยรางวัล MINISTER J. CHABERT เป็นรางวัลผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น มอบโดย

Minister of Economy of Brussels Capital Region ถ้วยรางวัล Grand Prix International เป็นรางวัลผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น มอบโดย International Council of the World Organization of Periodical Press

เหรียญรางวัล Prix OMPI Femme Inventeur Brussels EUREKA 2000 พร้อมประกาศนียบัตรเป็นรางวัลด้านสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นระดับโลก มอบโดย World Organization of Intellectual Property
ถ้วยรางวัล Yugoslavia Cup เป็นรางวัลสรรเสริญในพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบโดยกลุ่มประเทศยูโกสลาเวีย
เหรียญรางวัลGold Medal with Mention พร้อมประกาศนียบัตร เป็นรางวัลสรรเสริญในพระอัจฉริยภาพแห่งการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพมอบโดย Brussels Eureka 2000
การดำเนินงานในขณะนี้ได้ผลสำเร็จดีน่าพึงพอใจ สามารถทำให้นำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็นลงไปได้มาก และมีปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น สัตว์น้ำต่างๆ อาทิ เต่า ตะพาบน้ำ และปลา สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนสามารถบำบัดความสกปรกในรูปของมวงสารต่างๆ ให้ลดต่ำลงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร้องขอให้มูลนิธิชัยพัฒนาและกรมชลประทานเข้าไปช่วยเหลือในการบำบัดน้ำเสียอย่างเร่งด่วนเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น วัด โรงพยาบาล สถานที่ราชการอื่นๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
กังหันน้ำชัยพัฒนา จึงเป็นที่ยอมรับในประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถแก้ไขและปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่ายแต่ผลที่ได้รับนั้นยิ่งใหญ่และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างแท้จริง

โครงการแก้มลิง


โครงการแก้มลิง
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอกคลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืชโครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนัก ในลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่านเสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนัก และส่งผล กระทบต่อภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯเพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วม ในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยทรงเปรียบเทียบการ กินอาหารของลิงหลังจากที่ลิง เคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้างแล้วค่อย ๆ ดุนกล้วยมากินในภายหลังเช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุนให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่ทีjอยู่ใกล้กับพื้นที่ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิงสำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเลด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลองสรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป
แนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือ
ประการที่ ๑ สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม ประการที่ ๒ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมืองและเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก ประการที่ ๓ ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ ประการที่ ๔ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ ประการที่ ๕ ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวงได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบนพร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทานและกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ "แก้มลิง" มีลักษณะและวิธีการดังนี้
๑. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล ๒. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวโดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ ๓. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง ๔. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำโดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)
หลักการ ๓ ประการ ที่จะทำให้โครงการแก้งลิงมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ การพิจารณา
๑. สถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ ๒. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ ๓. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
"โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ใช้คลองชายทะเลตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำส่วน"โครงการแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาครพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่างๆอาทิ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"ซึ่งใช้หลักการ ในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเล

โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ ๓ โครงการด้วยกัน คือ
๑. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง๒. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"๓. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน" โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตหมายที่จะนำพาชาวไทยให้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือนร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัยซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า
"ได้ดำเนินการในแนวทาง ที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่"
ออนไลน์เข้าถึง http://www.sci.nu.ac.th/websci/webwin/p/sukhothaiwittayakom/water.htm

โครงการแกล้งดิน



โครงการแกล้งดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาสในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่าหลังจปัจจุบันคนทั่วไป จะคุ้นเคยกับคำว่า"แก้มลิง" อันเป็น โครงการจัดระบบการบริหารจัดการด้าน น้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและ เขตปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่ หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ และคนภาคใต้มักจะคุ้นเคยกับคำว่า "แกล้งดิน"มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ทำไมถึงต้อง "แกล้งดิน " สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราช ฐานและทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในภาคใต้ อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ปี 2516 เรื่อยมา ทำให้ทรง ทราบว่าราษฎรในพื้นที่แถบจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง ประสบปัญหาอยู่นานัปการ ราษฎรขาดแคลนที่ทำกิน อันเป็นสาเหตุสำคัญใน การดำรงชีพพื้นที่ดินพรุที่มีการ ระบายน้ำออกจะแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากสารไพไรท์ที่มีอยู่ในดินทำ ปฏิกริยากับออกซิเจนในอากาศแล้วปลดปล่อย กรดกำมะถันออกมามากจนถึงจุดที่เป็น อันตรายต่อพืชที่ปลูกหรือทำให้ผลผลิต ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จึงได้มี พระราชดำริให้จัดตั้ง" โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ" ขึ้น ณ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี 2524 เพื่อศึกษา และปรับปรุงแก้ไขปัญหาพื้นที่พรุให้ สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและด้าน อื่นๆ ได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2527 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจาก พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่อง "แกล้งดิน" ความว่า "...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีการแกล้ง ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาเรื่องนี้ในเขตจังหวัด นราธิวาสโดยให้ทำโครงการศึกษาทดลอง ในกำหนด2 ปี และพืชที่ทำการทดลอง ควรเป็นข้าว..."

แกล้งดินทำอย่างไร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ทำการศึกษาวิจัยและปรับปรุงดิน โดยวิธีการ "แกล้งดิน" คือ ทำให้ดินเปรี้ยว เป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด กล่าวคือ การทำให้ดินแห้ง และเปียกโดยนำน้ำเข้าแปลงทดลองระยะหนึ่ง และระบายน้ำออกให้ดินแห้งระยะหนึ่งสลับกัน จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดกรดมากยิ่งขึ้น ด้วยหลักการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้เลียนแบบสภาพธรรมชาติ ซึ่งมีฤดูแล้งและฤดูฝนเป็นปกติในแต่ละปี แต่ให้ใช้วิธีการร่นระยะเวลาช่วงแล้ง และช่วงฝนในรอบปีให้สั้นลง โดยปล่อยให้ดินแห้ง 1 เดือน และขังน้ำให้ดินเปียกนาน 2 เดือน สลับกันไป เกิดภาวะดินแห้ง และดินเปียก 4 รอบ ต่อ 1 ปี เสมือนกับมีฤดูแล้งและฤดูฝน 4 ครั้ง ใน 1 ปี หลังจากนั้นจึงให้หาวิธีการปรับปรุงดิน ดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ วิธีการที่สำคัญ : แกล้งดินแล้วปรับปรุงดิน เมื่อดำเนินการตามกรรมวิธี "แกล้งดิน" แล้วก็ใช้วิธีการปรับปรุงดิน ซึ่งเปรี้ยวจัดให้สามารถใช้เพาะปลูกได้ โดยมีหลายวิธีการด้วยกันดังนี้ ใช้ปูน เช่น ปูนขาว หินปูนฝุ่น ใส่ลงไปในดิน แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปูนจะทำปฏิกริยากับกรดกำมะถันในดิน เกิดสารสะเทิน ปริมาณกรดในดินจะลดลง ซึ่งหากใส่ในปริมาณที่มากพอจะช่วย ให้ดินมีสภาพเป็นกลาง ใช้น้ำจืดล้างกรดและสารพิษออกจากดินโดยตรง วิธีการนี้ใช้เวลานานกว่าวิธีใช้ปูน เนื่องจากกรดจะชะล้างออกไปอย่างช้าๆ แต่ได้ผลเช่นกัน - ยกร่อง เพื่อปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น โดยมีคูน้ำอยู่ด้านข้าง ให้นำหน้าดินจากดินในบริเวณที่เป็นคูมา เสริมหน้าดินเดิมที่เป็นคันร่อง ก็จะได้หน้าดินที่หนาขึ้น ส่วนดินที่มีสารไพไรท์จะใช้เสริมด้านข้าง เมื่อใช้น้ำชะล้างกรดบนสันร่อง กรดจะถูกน้ำชะล้างไปยังคูด้านข้าง แล้วระบายออกไป - ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ให้อยู่เหนือชั้นดินเลนตะกอนทะเล ป้องกันไม่ให้สารไพไรท์ทำปฎิกริยากับออกซิเจน กรดกำมะถันจึงไม่ถูกปลดปล่อยเพิ่มขึ้น - ใช้พืชพันธุ์ทนทานต่อความเป็นกรด มาปลูกในดินเปรี้ยว - ใช้วิธีการต่างๆ ข้างต้นร่วมกัน การดำเนินงานศึกษาทดลองอย่างต่อเนื่อง ในโครงการแกล้งดิน ได้มีการดำเนินการในช่วง ต่างๆ ตามแนวพระราชดำริดังนี้ ช่วงที่ 1 (มกราคม 2529-กันยายน 2530) เป็นการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดิน เปรียบเทียบระหว่างดินที่ปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติกับดินที่ทำให้แห้งและเปียกสลับกัน โดยวิธีการสูบน้ำเข้า-ออก การทำดินให้แห้งและเปียกสลับกัน ดินจะเป็นกรดจัดรุนแรง และมีผล ต่อการเจริญเติบโตของพืชพบว่าข้าวสามารถ เจริญเติบโตได้ แต่ให้ผลผลิตต่ำ ช่วงที่ 2 (ตุลาคม 2530-ธันวาคม 2532) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดินโดยเปรียบเทียบระหว่างระยะเวลา ที่ทำให้ดินแห้งและเปียกแตกต่างกัน การปล่อยให้ดินแห้งนานมากขึ้น ความเป็นกรดจะรุนแรงมากกว่าการใช้ น้ำแช่ขังดินนานๆและการให้น้ำหมุนเวียนโดยไม่มีการระบายออกทำให้ความเป็นกรดและ สารพิษสะสมในดินมากขึ้น ในการปลูกข้าวทดสอบความรุนแรงของกรด พบว่าข้าวตายหลังจากปักดำได้ 1 เดือน ช่วงที่ 3 (มกราคม 2533-ปัจจุบัน) ศึกษาถึงวิธีการปรับปรุงดิน โดยใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด ใช้น้ำชะล้างควบคู่กับการใช้หินปูนฝุ่นใช้หินปูนฝุ่นอัตราต่ำ เฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของดิน หลังจากที่ปรับปรุงแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการใช้ประโยชน์ และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของดินเปรี้ยวจัด เมื่ออยู่ในสภาพธรรมชาติ ในปริมาณเล็กน้อย พบว่า วิธีการใช้น้ำชะล้างดิน โดยขังน้ำไว้นาน 4 สัปดาห์ แล้วระบายออก ควบคู่กับการใช้หินปูนฝุ่นในปริมาณเล็ก น้อยจะสามารถปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดได้เป็นอย่างดี ส่วนวิธีการใช้น้ำชะล้างก็ให้ผลดีเช่นเดียวกัน แต่ต้องใช้เวลานานกว่า หลังจากมีการปรับปรุงดินแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้ไม่มีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ดินกลับเป็นกรดจัดรุนแรงขึ้นอีก สำหรับพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดตามธรรมชาติ ที่ไม่มีการปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงของความเป็นกรดน้อยมาก เมื่อปี 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีรับสั่งเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนิน ตรวจแปลงศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็น กรดของดินกำมะถันว่า "...นี่เป็นเหตุผลอย่างหนึ่ง ที่พูดมาสามปีแล้วหรือสี่ปี ว่าต้องการน้ำสำหรับมาให้ดินทำงาน ดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อ แล้วก็มาทำที่นี้แล้วมันได้ผล... อันนี้ผลงานของเราที่ทำที่นี่ เป็นงานที่สำคัญที่สุด เชื่อว่าชาวต่างประเทศ เขามาดูเราทำอย่างนี้แล้วเขาก็พอใจเขามีปัญหานี่แล้วเขาก็ไม่ได้ แก้หาตำราไม่ได้ ..." ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้จัดทำคู่มือ การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด เพื่อการเกษตรขึ้นเมื่อปี 2536 แกล้งดินสำเร็จแล้วราษฎรได้ประโยชน์อะไร เมื่อผลของการศึกษาทดลอง สำเร็จผลชั้นหนึ่ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้นำผลการศึกษาทดลองขยายผลสู่พื้น ที่ทำการเกษตรของราษฎรที่ประสบปัญหาดินเปรี้ยวจัด ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีพระราชดำริว่า "...พื้นที่บริเวณบ้านโคกอิฐ และโคกในเป็นดินเปรี้ยว เกษตรกรมีความต้องการจะปลูกข้าว ทางชลประทานได้จัดส่งน้ำชลประทานให้ ก็ให้พัฒนาดินเปรี้ยว เหล่านี้ให้ใช้ประโยชน์ได้ โดยให้ประสานงานกับชลประทาน..." จากการพัฒนาบ้านโคกอิฐ และบ้านโคกใน ปรากฏว่าราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว สามารถปลูกข้าวให้ได้ผล ผลิตเพิ่มมากขึ้นจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยถึงกับมีรับสั่งว่า ".เราเคยมาโคกอิฐ โคกใน มาดูเขาชี้ตรงนั้นๆ เขาทำ แต่ว่าเขาได้เพียง 5 ถึง 10 ถัง แต่ตอนนี้ได้ขึ้นไปถึง 40-50 ถัง ก็ใช้ได้แล้ว เพราะว่าทำให้เปรี้ยวเต็มที่แล้ว โดยที่ขุดอะไรๆ ทำให้เปรี้ยวแล้วก็ระบาย รู้สึกว่านับวันเขาจะดีขึ้น........... อันนี้สิเป็นชัยชนะที่ดีใจมาก ที่ใช้งานได้แล้ว ชาวบ้านเขาก็ดีขึ้น...แต่ก่อนชาวบ้านเขาต้องซื้อ ข้าว เดี๋ยวนี้เขามีข้าวอาจจะขายได้" อย่างไรก็ตาม " โครงการแกล้งดิน " มิได้หยุดลงเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง แต่จะต้องดำเนินการต่อไป "...งานปรับปรุงดินเปรี้ยวควรดำเนินการต่อไป ทั้งในแง่การศึกษาทดลองและการขยายผล..." ซึ่งปัจจุบันได้นำผลการศึกษาทดลอง ไปขยายผลแก่ราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะนี้จะมีการนำผลของการ "แกล้งดิน" นำไปใช้ในพื้นที่จังหวัดนครนายก และจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกด้วย ดังนั้น " โครงการแกล้งดิน " จึงเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับราษฎรทั่ว ทั้งประเทศ สร้างความปลื้มปิติ แก่เหล่าพสกนิกรเป็นล้นพ้นที่พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง ยอมตรากตรำพระวรกายลงมา "แกล้งดิน" เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์ พ้นจากความยากจนกลับ มาเบิกบานแจ่มใสกันทั่วหน้า
ออนไลน์เข้าถึง http://siweb.dss.go.th/sci60/team47/tetch09-1.htm

" ฝนหลวง "




" ฝนหลวง "
ความเป็นมาของฝนหลวง
โครงการพระราชดำริฝนหลวงเป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของ พสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดารที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไปหรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วง ฤดูฝนจากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี
จาก การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกภาคของ ประเทศ ทำให้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่และปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร โดยเฉพาะเกษตรกรมักจะประสบกับปัญหาความแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำ ทั้งการบริโภค อุปโภค และการเพาะปลูก
ด้วยทรงตระหนักว่า ในช่วงเวลาที่ฝนไม่ตกหรือฝนทิ้งช่วงไปเป็นระยะเวลานานนั้น พื้นที่เพาะปลูกทั่วไปที่ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือไม่มีโครงการชลประทานเข้าไปถึง ย่อมได้รับความเดือดร้อน เพราะขาดแคลนน้ำ ซึ่งได้อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในการ ทำฝนเทียม เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา โดยวิธีการทำให้ฝนตกนอกเหนือจากการตกของฝนตามปกติ จึงได้พระราชทานพระราชดำริแก่นักวิชาการและเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๘ เพื่อค้นคว้าหาเทคนิควิชาการทางวิทยาศาสตร์ในการแปรสภาพไอน้ำในอากาศให้เกิด เมฆ แล้วเร่งให้กลุ่มเมฆมีการรวมตัวกันมากขึ้นจนเกิดเป็นฝนตกในช่วงเวลาและ พื้นที่ที่ต้องการ โดยพระราชทานนามการทำฝนเทียมนี้ว่า "โครงการฝนหลวง"
นับตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๑๒ เป็นต้นมา จากการวิจัยค้นคว้าทดลอง ก็ได้กรรมวิธีที่เหมาะสมในการปฏิบัติการทำฝนหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมเพื่อให้นำไปทดสอบ ทดลองหลายประการ จนสามารถนำไปใช้ได้ดี การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้ ใช้วิธีการโปรยสารเคมีทางเครื่องบินตามสภาวะต่างๆ ขั้นแรกเพื่อรวบรวมไอน้ำในบรรยากาศให้รวมตัวกันเป็นเมฆ จากนั้นจึงสร้างเมฆหรือเลี้ยงให้เจริญเติบโต และขั้นสุดท้ายจึงเป็นการโจมตีกลุ่มเมฆเหล่านั้นให้ตกเป็นฝนในบริเวณพื้นที่ เป้าหมาย ซึ่งกรรมวิธีในการทำฝนตามขั้นตอนด้งกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ไว้ว่า ก่อกวน เลี้ยงให้อ้วน และโจมตี

ขั้นตอนการทำฝนหลวงนี่มีอยู่ ๓ ขั้นตอน
ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน" เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบนเพื่อให้เกิด กระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ)เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวน การกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมายเมื่อเมฆเริ่ม เกิดมีการก่อตัวและเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม(main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน" เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไปเพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไปต้องใช้ เทคโนโลยี และประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่ม ก้อนเมฆ และใน อัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย
ขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี" เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธี ปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมี ความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็น ฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาด ใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้า ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัย ประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของ การทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)


เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง 1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับการ สนับสนุนเป็นประจำวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่ <> เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป <>เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทยุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ <>เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝน และการเคลื่อนที่

ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐาน ในการประเมิน ผลปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย <>เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น 2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น

3. เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผล ระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์ โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1,FM.5เครื่องโทรพิมพ์ เป็นต้น 4. เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ
5. สถานีเรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ ประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น Doppler radar จัดเป็นเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่องมือ ชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์(Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด 20 นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือที่เรียกว่า สถานีเรดาร์ฝนหลวงนี้อยู่ที่ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ออนไลน์เข้าถึง http://www.identity.opm.go.t

โครงการในพระราชดำริ


โครงการเศรษฐกิจแบบพอเพียง
ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระราชหฤหัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ" พอมีพอกิน "และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริม สร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดํารัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทํามาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้ " ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้นจะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรงด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัยเพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทําการเกษตรได้ และค้าขายได้"

ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทําให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดําริของ " เศรษฐกิจพอเพียง " ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพึ่งพายึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงําความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกินขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น " เศรษฐกิจพอเพียง " จึงได้สื่อความหมาย ความสําคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคมตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขายสะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มี่อยู่ภายในชาติและทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเองทําให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจําเป็นที่ทําได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนําไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เริ่มจากตนเองและความร่วมมือวิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ " จิตวิญญาณ "คือ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลําดับความสําคัญของ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จํากัดซึ่งไร้ขอบเขตถ้าไม่สามรถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทําลายล้างจะรวดเร็วและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข( Maximizationof Satisfaction ) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกําไร ( Our loss is our gain ) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จํากัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง" คุณค่า " จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทําลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น " ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด " และขจัดความสําคัญของ " เงิน " ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกําหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ ( Demonstration Effects ) จะไม่ทําให้เกิดการสูญเสียจะทําให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน ( Over Consumption ) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่รํ่ารวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทําให้รํ่ารวยมากขึ้นในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าโดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทําให้เกิดความเข้มแข็งและความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สําคัญคือการบริโภคนั้นจะทําให้เกิดความรู้ที่จะอยุ่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทํา เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสําหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า" มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ " บุคคล " กับ " ระบบ " และปรับความต้องการที่ไม่จํากัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกําไร และอาศัยความร่วมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สําคัญของระบบสังคม


การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนําเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดําริในเรื่องต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคําพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ว่า " ....ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร " ในการผลิตนั้นจะต้องทําด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทําโครงการแต่ไม่ได้คํานึงว่าปัจจัยต่างๆ ไม่ครบปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสําคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสําหรับใช้ในโรงงานนั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนํามาจากระยะไกล หรือนําเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นําเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะตํ่าลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทําให้ราคาตกหรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทําให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาดขายได้ในราคาที่ลดลงทําให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้ 1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจําวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจําวันและเพื่อจําหน่าย 2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ 3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่นเพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด “ การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”“ เศรษฐกิจพอเพียง” จะสำเร็จได้ด้วย “ ความพอดีของตน”
ออนไลน์เข้าถึง http://www.bpp.go.th All rights reserved. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน E-mail Address : bpp_ict@bpp.go.th

ความสำคัญระหว่างนวัตกรรมกับเทคโนโลยี


1. ประสิทธิภาพ(Efficiency)ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
2. ประสิทธิผล(Productivity)ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น

3. ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
ควรคำนึงในเรื่องการแสวงหาแนวทางใหม่ๆในการเรียนการสอนว่าการพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนต้องใช้เวลาและวิธีการการคิด จะปรับปรุงพัฒนางานวิชาการโดยแสวงหาแนวทางใหม่ๆให้ครูอาจารย์ผู้สอนใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการเรียนการสอน ต้องค่อย ๆ ทำ ทำไปเรื่อย ๆ ถ้าไม่คิดดำเนินการอะไรครู อาจารย์ในโรงเรียน จะลืมและไม่ใช้วิธีการใหม่ ๆ วิชาความรู้ ความคิดใหม่ ๆ จะหดหายไปเรื่อย ๆ ในที่สุดก็จะกลายเป็นครูผู้ชายน้ำลายรายชั่วโมง ไม่เตรียมสื่อการสอน หาเช้ากินค่ำ อ่านหนังสื่อสอนนักเรียน ขอเสนอ ข้อคิดเตือนใจด้วยภาพ จากหนังสือเอกสารประกอบกิจกรรมการพัฒนาวินัย เรื่อง การแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู กระทรวงศึกษาธิการ
ออนไลน์เข้าถึง http://booda.212cafe.com/archive/

ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมกับเทคโนโลยี



คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้ว นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับ การทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำนวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
ออนไลน์จาก http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/99

ความหมายของเทคโนโลยี


“เทคโนโลยี” หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้
ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
ออนไลน์เข้าถึง http://pirun.ku.ac.th/~b5013098/page1.html

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู


1. ความหมายของนวัตกรรม

“นวัตกรรม” คือ การนำเอาความคิดใหม่ ความรู้ใหม่ การกระทำสิ่งใหม่ เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาการจัดการศึกษา นำมาใช้ในการจัดการ เรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ส่วนเทคโนโลยี คือผลสืบเนื่องจากจากนำเอาความคิดใหม่ ความรู้ใหม่ วิธีการและเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ประยุกต์เข้ากับความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์นำมาใช้นำมาปฏิบัติในการจัดการศึกษาอย่างมีระบบการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ จะช่วยให้การจัดการศึกษามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาอย่างเหมาะสมขึ้นมีประสิทธิภาพดีขึ้น ได้ผลผลิตสูงขึ้น ดังตัวอย่าง
“นวัตกรรม” (Innovation) ในการจัดการเรียนการสอน เช่น การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ใช้วิธีการสอนแบบใหม่ เปลี่ยนไปจากการใช้วิธีบรรยาย ซักถามธรรมดา การผลิตวัสดุ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน (Instructional Materials) การจัดทำ จัดหาพวกวัสดุ อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเองได้ ซึ่งเป็นพวก Software เช่น การทำแผนภาพ แผนภูมิ หาวัสดุในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการสอน การจัดทำ “บทเรียนสำเร็จรูป” “บทเรียนโปรแกรม” เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการสอนซ่อมเสริม การจัดให้นักเรียนเก่งช่วยนักเรียนอ่อน ให้นักเรียนเป็นผู้ช่วยครู (Teacher assistant) เป็นต้น
ออนไลน์เข้าถึง http://booda.212cafe.com/archive/